บทความ

มาตราตัวสะกดในภาษาไทย

รูปภาพ
      มาตราตัวสะกด มาตราตัวสะกด คือ กลุ่มพยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายคำหรือพยางค์ใน แม่ ก กา ทำให้เสียงของคำแตกต่างกันตามพยัญชนะที่นำมาประกอบ เช่น นา เมื่อประสมกับ น กลายเป็น นาน มาตราแม่ ก กา     คำในแม่ ก กา เป็นคำที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด ท้ายคำ หรือ ท้ายพยางค์ อ่านออกเสียงสระโดยไม่มีเสียงพยัญชนะ เช่น มา กา ปู เรือ เมีย ฯลฯ ทั้งนี้ แม่ ก กา เป็นหนึ่ง ในมาตราไทย แต่ไม่ถือว่าเป็นมาตราตัวสะกด เนื่องจากไม่มีพยัญชนะต่อท้าย  มาตราตัวสะกดมีอยู่ ๘ แม่ ได้แก่ แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว  มาตราตัวสะกด แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ 1. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี 4 มาตรา ดังนี้ 1.1 แม่กง พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ง เช่น กลอง สอง กลาง ช้าง ข้างคล้องจอง กางเกง กระโปรง ฯลฯ 1.2 แม่กม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ม เช่น ลม ร่ม โฟม เข็ม มุม คุม ทุ่ม แยม ถล่ม สนาม คำราม ฯลฯ 1.3 แม่เกย พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ย เช่น สร้อย สะพาย ม้าลาย พลอย ถ้วย ไฟฉาย สาย ปุ๋ย นโยบาย ฯลฯ 1.4 แม่เกอว พยั